ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก., พล.ต.ต.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบก.ปพ., พ.ต.อ.จีระเศรษฐ์ ดาวเงินตระกูล, พ.ต.อ.สุรพันธ์ มั่นคงดี รอง ผบก.ปพ., พ.ต.อ.กฤษกร หอมจรรยา ผกก.6 บก.ปพ., พ.ต.ท.ธนพันธุ์ จันทร์เทพ, พ.ต.ท.สามารถ เทพมณี รอง ผกก. 6 บก.ปพ.,พ.ต.ท.วัชรากร เนียมหอม รอง ผกก.ฝอ. บก.ปพ. ปฏิบัติราชการ กก.6 บก.ปพ.
สั่งการให้ พ.ต.ท.ฐิติวัฒน์ นิโกรธา สว.กก.6 บก.ปพ. พร้อมชุดจับกุม
จับกุมตัว : นายธีรเดช หรือเอ สมเผ่า อายุ 29 ปี
ตามหมายจับ : ศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ จ.361/2564 ลงที่ 2 สิงหาคม 2564
ความผิดฐาน : “ ร่วมกันเรียกค่าไถ่,อั้งยี่,ช่องโจร,ข่มขืนใจผู้อื่น ”
พฤติการณ์ในคดี : การจับกุมครั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ตำรวจกองปราบปราม ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายเจเรมี่ แมนเชสเตอร์ และ นายลูอิส ซิสกิน สองผู้ต้องหาสัญชาติอเมริกัน และผู้ต้องหาชาวไทยอีกหลายคน ในข้อหาร่วมกันเรียกค่าไถ่, พยายามฆ่า, อั้งยี่, ซ่องโจร, ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการ ไม่กระทำการใดโดยใช้กำลังประทุษร้ายและมีอาวุธฯ หลัง นายเวน ยู ชุง ชาวไต้หวันซึ่งเป็นตัวแทนนักธุรกิจจำหน่ายถุงมือยางทางการแพทย์เข้าแจ้งความกับตำรวจ ว่า ถูกอุ้มไปรีดค่าไถ่ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา ชนวนเหตุเกิดจากการที่ นายลูอิส หนึ่งในผู้ต้องหาทำธุรกิจซื้อขายถุงมือ กับบริษัทของ นายเวน ยู ชุง แล้วเกิดความเสียหายจำนวนเงินถึง 93 ล้านบาท
สำหรับวันเกิดเหตุ ขณะที่ นายเวน ยู ชุง นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านแห่งหนึ่งย่านทองหล่อ ได้ถูกคนร้ายร่วมกันจับใส่กุญแจมือ พาตัวไปยังห้องพักรายวันที่อยู่ห่างไป 200 เมตร ก่อนจะใช้โทรศัพท์ติดต่อไปเรียกค่าไถ่จากนายจ้างเป็นเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเรียกค่าไถ่จากญาติของ นายเวน ยู ชุง อีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ญาติเห็นท่าไม่ดี จึงติดต่อไปขอความช่วยเหลือยังสถานทูตให้ประสานตำรวจ กลุ่มผู้ต้องหาจึงยอมปล่อยตัว จนนำมาสู่การออกหมายจับผู้ร่วมก่อเหตุจำนวนหลายคน
สุดท้ายหนีไม่รอด . . .ถูกตำรวจคอมมานโดทำการจับกุมตัว นำส่งดำเนินการตามกฎหมาย
“สยบทุกข์ภัย รับใช้ปวงประชา”